โรคหัวใจ

โรคหัวใจ มารู้จักอาการและการรักษา-พบแพทย์

โรคหัวใจ เกิดจากการตีบตันแคบ หรืออุดตันในหลอดเลือด

โรคหัวใจ ของคนเราถือเป็นอวัยวะสำคัญมาก ของร่างกาย เพราะหัวใจมีหน้าที่ สูบฉีดเลือด เพื่อนำพาออกซิเจน และธาตุอาหารต่าง ๆ ในเลือดไปเข้าสู่ระบบต่างๆ ภายในร่างกาย หัวใจคนเรามี ขนาดเท่ากำปั้น มีด้วยกัน 4 ห้อง คือบนซ้าย ขวา และล่าง ซ้าย ขวา อยู่ภายใต้ตรงกลางหน้าอก ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย โดยระหว่างห้อง จะมีลิ้นหัวใจกั้น อยู่ทุกครั้งที่มี การสูบฉีดเลือด ลิ้นหัวใจก็จะเปิด-ปิดตามกลไก การทำงานของร่างกาย หัวใจของเรา มีความต้องการออกซิเจนเช่นเดียวกับ อวัยวะอื่นในร่างกายเหมือนกัน ดังนั้นในหัวใจก็ จะมีหลอดเลือด ที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงกล้าม เนื้อหัวใจเช่นเดียวกันค่ะ

และถ้าหากส่วนประกอบใด ส่วนประกอบหนึ่ง ของหัวใจมีปัญหา ก็จะทำให้เกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจโต อาการ ของคนเป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่ สังเกตไม่ยาก จะมีอาการหอบ เหนื่อยง่าย บางรายมีตัวเขียวคล้ำ เนื่องจากภาวะ การสูบฉีดเลือด ของหัวใจผิดปกติ บางรายหากมีอาการมากๆ แล้วไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอันตรายมากทีเดียว ดังนั้นบทความนี้ เราจะมาพูดถึงโรคหัวใจประเภทต่างๆ ที่พบบ่อย การดูแลสุขภาพ รวมทั้งสาเหตุของการเกิดโรคและการรักษากันนะคะ

ประเภทของโรคหัวใจ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ 
  • โรคลิ้นหัวใจพิการ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ นั้นหากได้รับไขมันไป สะสมในหลอดเลือดมากๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะ ที่การไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ การสูบฉีดเลือดไม่สะดวก ทำให้กลไก ในร่างกายเกิดความผิดปกติ ไปด้วย เช่น ทำให้เกิดหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเฉียบพลัน ส่งผลให้เสียชีวิตได้ หลอดเลือดหัวใจ คนเราก็เหมือนกับท่อน้ำ หากมีไขมันหรือ สนิมไปอุดตันมากๆ น้ำก็ไหลได้ไม่สะดวกเช่นเดียวกัน การที่หัวใจสูบฉีดเลือดผิดปกติทำ ให้ร่างกายได้รับออกซิเจน ไม่เพียงพอต่อความต้องการค่ะ

สาเหตุ : เกิดจากการทานอาหาร ที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลสูง การทานอาหารที่มีกาก และเส้นใยน้อย การสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟเป็นประจำ และการขาดการออกกำลังกาย

อาการ : รู้สึกจุกแน่น บริเวณหน้าอกหรือลำคอ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นแรง หมดสติเฉียบพลัน

การรักษา : การรักษานั้นสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การใช้ยา การทำบอลลูนหัวใจ การตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ คือการที่หลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือด ไปเลี้ยงที่กล้ามเนื้อหัวใจได้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายนั่นเองค่ะ

สาเหตุ : เกิดจากการขาด การออกกำลังกาย มีความดันโลหิตไม่ปกติ เป็นเบาหวาน เป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ หรืออาจเป็นกรรมพันธุ์ อันเกิดจากมีคนในครอบครัว มีประวัติเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ส่วนใหญ่มักจะเกิด กับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และเป็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงค่ะ

การรักษา : ควรหมั่นตรวจสอบหลอดเลือดหัวใจปีละ 1 ครั้ง วิธีการตรวจ แพทย์จะทำการตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด พร้อมซักประวัติอาการ รวมถึงคนในครอบครัวว่า มีประวัติโรคหัวใจหรือไม่ และจะพิจารณารักษาด้วย ยาแอสไพรินหรือยาไนเตรท ในบางรายแพทย์อาจแนะนำ ให้ใช้การฉีดสีหรือพิจารณาให้ทำบอลลูนทันที ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินนะคะ

โรคหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจพิการ

โรคลิ้นหัวใจพิการ เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย แต่คนไทยมักไม่ค่อยรู้จักโรคนี้นัก เพราะโรคนี้มักเป็นใน คนที่อยู่ในชนบท มักจะไม่เกิดกับผู้ที่อยู่ ในสังคมเมือง จึงไม่ค่อยได้มีใคร รับข่าวสารว่ามีผู้ป่วย หรือมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากนัก

สาเหตุ : โรคนี้มีสาเหตุมาจากอาการ ต่อเนื่องจากไข้รูมาติก ซึ่งมีอาการอักเสบ สะสมเรื้อรัง เป็นโรคเกี่ยวกับติดเชื้อ ทางช่องปากมาก่อน บริเวณรากฟัน คอหอย บางครั้งเด็กๆ ในชนบทก็ไม่รับการดูแลรักษา สุขภาพอนามัยเท่าที่ ควรสำหรับเด็กห่างไกล ความเจริญ เมื่อเป็นโรครุมาติกแล้ว พอดูแลความสะอาดทางสุขลักษณะ ได้ไม่ดีจึงทำให้เชื้อลามไปอย่างที่กล่าวไว้

อาการ : ผู้ป่วยโรคนี้ จะมีอาการเหนื่อยง่าย ทำให้นอนราบไม่ได้ ต้องนอนยกหัวให้สูง หรือกึ่งนั่งกึ่งนอน มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดภาวะน้ำท่วมปอด มีอาการใจสั่น แต่ส่วนน้อยที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

การรักษา : แพทย์จะทำการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยการผ่าตัดเปลี่ยนเป็นลิ้นหัวใจเทียม ซึ่งอาจทำมาจากเยื่อหุ้มหรือลิ้นหัวใจของหมู

โรคหัวใจ พิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดคือหัวใจมีภาวะผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจรู้ได้ทันทีเมื่อคลอด แต่บางรายอาจรอจนโตจึงแสดงอาการ บางรายไม่รุนแรงถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษา และสามารถหายได้เอง ในขณะที่บางรายอาจรุนแรงถึงขึ้นต้องผ่าตัดหัวใจเลยทีเดียว

สาเหตุ : เนื่องจากหัวใจคนเรามี 4 ห้อง บน ล่าง ซ้าย ขวา ซึ่งในขณะที่ทารกตอนอยู่ในครรภ์มารดา ช่วงอายุประมาณ 6 สัปดาห์ หัวใจจะเริ่มสร้างเสร็จและอาจเกิดความผิดปกติในช่วงนี้ได้ ส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ ซึ่งส่งผลกับการหายใจของทารกได้ ในส่วนนี้ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าการที่หัวใจพิการเกิดจากสาเหตุอะไร พอวิเคราะห์คร่าวๆ ได้ว่า อาจมีคนในครอบครัวมีอาการผิดปกติแบบนี้ก่อนเนื่องจากอาการนี้สามารถส่งผลจากรุ่นสู่รุ่นได้ หรือเด็กบางกลุ่ม เช่น ดาวน์ซินโดรม มีโอกาสเป็นโรคหัวใจพิการได้ง่าย หรืออาจเกิดจากสาเหตุที่มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายได้ ส่งผลกระทบให้ทารกเกิดภาวะหัวใจพิการ ทั้งนี้ การทานยาต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ก็มีส่วนเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรทายาตามแพทย์สั่งเท่านั้นค่ะ

อาการ : มีพัฒนาการและภาวการณ์เติบโตช้ากว่าเด็กอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน ระบบของร่างกายอาจผิดปกติ บางรายหัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย อาจเกิดตัวเขียวคล้ำเนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ และอาจเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

การรักษา : การรักษาเด็กแต่ละรายไม่เหมือนกัน เนื่องจากภาวะความรุนแรงของอาการมีไม่เท่ากัน ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาตามอาการแล้วรักษาโดย การให้ยา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น หรือบางรายอาจใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ เด็กบางราย แพทย์อาจไว้วิธีการสอดท่อเพื่อสวนเข้าไปในหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดรั่ว หรือมีความผิดปกติ

อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่า หัวใจ เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าหากระบบการทำงานของหัวใจมีปัญหา สุขภาพร่างกายของคนเราก็จะเกิดปัญหาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ก่อนที่หัวใจจะเกิดความผิดปกติ เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ กากใยสูง เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคหัวใจคือผู้ที่เป็นความดันโลหิต เบาหวาน พวกที่เป็นโรคอ้วนทั้งหลาย ดังนั้นการออกกำลังกาย และการรักษาน้ำหนักของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการการเป็นโรคหัวใจได้  ไม่ควรทานอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งจะส่งผลให้ไขมันไปเกาะหลอดเลือด เป็นสาเหตุทำให้ระบบหัวใจทำงานผิดปกติ

ควรงดสูบบุหรี่เพราะ ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อหัวใจโดยตรง สารพิษในควันบุหรี่ทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และทำให้ไขมันเข้าไปเกาะในหลอดเลือดแดงได้ง่ายขึ้น สารนิโคตินในควันบุหรี่ยังทำให้ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักเกินไปอีกด้วยค่ะ

หากเป็นโรคหัวใจต่าง ๆ ตั้งแต่กำเนิดแล้ว บางครั้งแพทย์อาจตรวจพบและรอเวลาที่จะทำการรักษา เพราะบางครั้งโรคหัวใจไม่สามารถรักษาได้ทันที เช่น หากต้องมีการผ่าตัด จะต้องยาบางตัวไประยะหนึ่งก่อน เพื่อให้พร้อมสำหรับการเข้าผ่าตัด รวมไปถึงในเรื่องความพร้อมของร่างกายผู้ป่วยเองด้วย ว่าพร้อมเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ เพราะฉะนั้นทางที่ดีก่อนที่เราจะต้องเผชิญหน้ากับโรคหัวใจชนิดต่างๆ เราเปลี่ยนมาดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และลดภาวะต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงกับการเป็นโรคหัวใจกันดีกว่านะคะ